กามาทีนวกถา
การพรรณนาถึงโทษของกาม ความยินดี
รักใคร่ พอใจ ในรูป เสียง
กลิ่น รส
สัมผัส ซึ่งเรียกว่า วัตถุกาม
ความมีราคะ ความกำหนัด
ตัณหา ทะยานอยาก ซึ่งเรียกว่า
กิเลสกาม
อันเกิดจากจิตใจที่ถูกเพาะบ่มมาเป็นอเนกชาติ
เมื่อมีเหตุปัจจัยก็จะกระทำออกไปเพียงชั่วแล่น
จึงทำให้อกุศลหรือบาปกรรมได้บังเกิดขึ้นอย่างที่เรียกว่า ระงับอารมณ์ไม่ได้ เพราะขาดการอบรมสติให้มีความเข้มแข็ง ฉะนั้นไม่ว่าอะไรก็เกิดได้อย่างไม่คาดคิด ไม่ตั้งใจ
กามมี
๒ ประเภท คือ วัตถุกาม
และ กิเลสกาม
วัตถุกาม ได้แก่
วัตถุอันน่ายินดีเพลิดเพลิน
มีรูป เสียง กลิ่น
รส สัมผัส อันเป็นที่ชื่นชอบใจ เช่น
บ้าน รถ เงิน
ทอง เสื้อผ้า สุนัข
แมว ฯลฯ
กิเลสกาม ได้แก่
กิเลสที่เป็นอารมณ์แห่งตัณหา
ความทะยานอยาก หลงใหล หมกมุ่นในราคะ
ติดใจในรูป เสียง กลิ่น
รส โผฏฐัพพะและธรรมารมณ์ ที่น่ารักน่าใคร่
ผู้ใดเพลิดเพลินในวัตถุกามและกิเลสกามเหล่านี้แล้ว ย่อมติดใจ
ยึดมั่น
ถือมั่นเป็นอุปทานอันเป็นปัจจัยให้มีภพมีชาติ ชรา
มรณะ ความผิดหวัง ความคับแค้น
ความโศก ความคร่ำครวญ นี้เป็นโทษของกามคุณทั้งหลาย
สัตว์ผู้ติดข้องอยู่ในกาม ย่อมหมกมุ่นงมงายด้วยอำนาจกิเลส พรั่งพร้อมด้วยกามคุณในทุกอิริยาบถ ไม่เห็นโทษในกาม อันจะเปลื้องออกได้ยาก มีผลเผ็ดร้อน
อันความพินาศ ไม่พ้นไปจากโอฆะคือห้วงน้ำไปได้
ความหลงใหลในกามทั้งหลาย เดือดร้อนตนและผู้อื่น
ก่อให้เกิดความทุกข์แก่ครอบครัวและญาติพี่น้อง ต้องแสวงหามาเพื่อให้ได้ครอบครอง ต้องต่อสู้
แย่งชิง
บางครั้งถึงเอาชีวิตเข้าแลก
ได้มาแล้วยังต้องรักษา
ระมัดระวัง
ป้องกันการจะสูญเสีย การถูกแย่งชิง ถูกปล้น
ถูกไฟไหม้ ถูกภัยธรรมชาติทำลาย
เป็นต้น
กรรมกับกามเกี่ยวข้องกัน เพราะมีที่เกิดอันเดียวกันที่ดับอันเดียวกัน
กาม
ดูกรภิกษุทั้งหลาย กาม ๕ ประการนี้
คือ รูปที่พึงเห็นด้วยจักษุ เสียงที่พึงรู้ด้วยโสต กลิ่นที่พึงรู้ด้วยฆานะ รสที่พึงรู้ด้วยชิวหา โผฏฐัพพะที่พึงรู้ด้วยกาย อันน่าปรารถนา
น่าพอใจ ชวนให้กำหนัด สิ่งเหล่านี้ไม่ชื่อว่ากาม เรียกว่า
กามคุณ ( คุณของกาม )
ในวินัยของพระอริยะเจ้า ผัสสะ เป็นแห่งเกิดของกาม กามในรูปเป็นอย่างหนึ่ง กามในเสียงเป็นอย่างหนึ่ง ฯ นี้เรียกว่า
ความแตกต่างแห่งกาม
การที่บุคคลผู้ใคร่อยู่
ย่อมยังอัตภาพที่เกิดขึ้นจากความใคร่นั้นๆ ให้เกิดขึ้น เป็นส่วนบุญหรือมิใช่บุญ นี้เรียกว่า
เป็นวิบากของกาม
กามดับเพราะผัสสะดับ
อริยมรรคมีองค์ ๘
เป็นปฏิปทาให้ถึงความดับแห่งกาม ฯ (นิพเพธิกสูตร ๔-๓๒๕
)
ดูกรภิกษุทั้งหลาย คำว่าภัย
ทุกข์ โรค ฝี
เครื่องขัดข้อง เปือกตม ล้วนเป็นชื่อของกาม เพราะสัตว์โลกผู้ยินดีด้วยกำหนัดในกาม ถูกความกำหนัดเพราะความชอบพอเกี่ยวข้องไว้ จึงไม่พ้นภัยแม้ที่มีในปัจจุบัน ไม่พ้นภัยแม้ในสัมปรายภพ ( ภยสูตร ๔-๒๗๐ ) เทวดากล่าวว่า
กามทั้งหลายในหมู่มนุษย์ที่เป็นของเที่ยงย่อมไม่มี บุรุษผู้เกี่ยวข้องแล้ว
ผู้ประมาทแล้วในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความใคร่ทั้งหลาย อันมีอยู่ในหมู่มนุษย์นี้ไม่มาถึงนิพพาน อันเป็นที่ไม่กลับมาแต่วัฏฏะ ซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งมัจจุ ( นสันติสูตร ๘-๗๔ )
พระผู้มีพระภาคตรัสว่ากามคุณ ๕ ประการ
ว่าเป็นที่แคบ ( ปัญจาลสูตร ๔-๕๘๕ )
กามกับอริยสัจ ๔ มีความเกี่ยวข้องกันอยู่ดังนี้ ทรงตรัสถามว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็ทุกขสมุทัยอริยสัจเป็นไฉน
ตัณหานี้ใด อันมีความเกิดอีก ประกอบด้วยความกำหนัด ด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน เพลิดเพลินยิ่งในอารมณ์นั้นๆ คือกามตัณหา
ภวตัณหา วิภวตัณหา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตัณหานี้เมื่อจะเกิดหรือตั้งอยู่
ย่อมเกิดขึ้นหรือตั้งอยู่ในที่เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ที่รักที่เจริญใจในโลกคือ (๑) ตา
หู จมูก ลิ้น
กายใจ (๒) รูป
เสียง กลิ่น รส
โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ (๓) จักขุวิญญาณ ฯลฯ (๔)
จักขุสัมผัส ฯลฯ (๕)จักขุสัมผัสสชาเวทนา (
ความรู้สึกจากการสัมผัสทางตา ) ฯลฯ
(๖) รูปสัญญา ( ความจำรูป ) ฯลฯ (๗)
รูปตัณหา ( ตัณหาในรูป ) ฯลฯ (๘)
รูปวิตก ( ความตรึกในรูป ) ฯลฯ
(๙) รูปวิจาร ( ความพิจารณารูป ) ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขนิโรธอริยสัจเป็นไฉน คือความสำรอก
ความดับโดยไม่เหลือ ความสละ ความไม่มีอาลัยในตัณหานั้น บุคคลจะละตัณหาหรือดับตัณหาได้ ก็ในที่เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก
มีตา หู
เป็นต้น รูปวิตกรูปวิจารเป็นที่สุด
( มหาสติปัฏฐานสูตร ๑-๒๖๓ ) จากนี้จะเห็นว่าเหตุทุกข์และที่ดับทุกข์ ก็อยู่กับที่เกิดที่ดับของกาม ต่างกันก็แต่มีใจกับธรรมารมณ์เพิ่มขึ้นมา
เนกขัมมนานิสังสกถา
การพรรณนาผลแห่งการออกจากกาม ทางวัตถุอันเกิดจากกายได้แก่การบวช ทางใจได้แก่
การทำจิตให้สงบระงับจากอกุศลกรรมทั้งหลายทางวัตถุภายนอกที่เกิดจากความพอใจยินดีของบุคคลทั่วไป
อันสวรรค์นั้นแม้จะเป็นที่ปรารถนาของผู้คนทั้งหลาย แต่ก็ยังเป็นสวรรค์ชั้นกามที่เรียกว่า กามาพจรสวรรค์ทั้ง ๖ เพราะความเที่ยงไม่มี
เมื่อเสวยบุญจนหมดแล้วก็ต้องไปตามวิบากทั้งหลายที่มีอยู่
ฉะนั้นการที่จะออกจากกามได้เด็ดขาด ต้องอาศัยการบวช เพื่อจะได้อบรมกาย วาจา
ใจ ให้ปราศจากกิเลสทั้งปวง โดยอาศัยหลักอริยสัจ ๔ แม้ไม่ได้บวชเป็นพระก็สามารถปฏิบัติธรรมที่บ้านได้ ฆราวาสปฏิบัติธรรมสามารถบรรลุอริยบุคคลชั้นโสดาบันและสกิทาคามีได้ แต่ถ้าได้อนาคามีขึ้นไปแล้วส่วนใหญ่จะบวช เพราะอนาคามีบุคคลตัดกามออกได้หมดแล้ว
อริยสัจ ๔ ความจริงที่พระอริยะตรัสรู้ คือธรรมที่อาศัยกันและกันเกิดขึ้น เป็นเหตุและเป็นผลต่อเนื่องกันเหมือนกับลูกโซ่ จนได้ความจริงอันประเสริฐ ๔
ประการ คือ
๑.
ทุกข์
ความทุกข์หรือสภาพที่ทนได้ยาก
เนื่องจากความไม่เที่ยงของการเกิด
แก่ เจ็บ ตาย
ความประสบกับสิ่งไม่เป็นที่รักที่พอใจ
ความพลัดพรากจากสิ่งที่รักที่พอใจ
ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น
๒.
สมุทัย เหตุให้เกิดทุกข์
๒.๑
กามตัณหา ความอยากในกามคุณ รูปสวย
เสียงเพราะ กลิ่นหอม รสอร่อย
สัมผัสอ่อนนุ่ม ความทะยานอยากเพื่อสนองกามคุณ
๒.๒
ภวตัณหา ความอยากมี อยากเป็น
อยากได้ เพื่อลาภ ยศ
สรรเสริญ อยากมีชิวิตอยู่ตลอดไป
๒.๓
วิภวตัณหา ความไม่อยากมี ไม่อยากเป็น
ไม่อยากได้ เพื่อให้พ้นจากสภาวะที่บีบคั้น เบื่อหน่าย
ว้าเหว่ หมดอาลัยตายอยาก อยากหลุดพ้น
๓.
นิโรธ ความดับทุกข์ อันได้แก่
การกำจัดอวิชชา ตัณหาให้หมดสิ้นแล้ว หลุดพ้นเป็นอิสระ ปลอดโปร่ง
ว่างจากอารมณ์ทั้งปวง ที่เรียกว่า นิพพาน
๔.
มรรค
หนทางหรือข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์
มีองค์ ๘ ประการหรือที่เรียกว่า อริยมรรคมีองค์ ๘ เป็นทางสายกลาง ไม่ติดข้องหรือเอียงไปหาที่สุด ๒
อย่าง คือ
กามสุขัลลิกานุโยค การปฏิบัติที่ไม่หย่อนเกินไป แสวงหาแต่กามสุขอันหมกมุ่นแต่ รูป
เสียง กลิ่น รส
และสัมผัส
เป็นกิจของคนกิเลสหนา
มิใช่ของพระอริยะ
อัตตกิลมถานุโยค การปฏิบัติตนเพื่อให้ได้รับความลำบาก เคร่งครัดเกินไป การทรมานตนเป็นการกระทำที่เหนื่อยเปล่า ไม่มีประโยชน์
ไม่ใช่ทางแห่งความหลุดพ้น
ความไม่รู้แจ้งเห็นจริงในอริยสัจ ๔
คือไม่รู้ว่าอะไรเป็นทุกข์ สมุทัย นิโรธ
มรรค แม้จะรู้สิ่งเหล่านี้โดยพิจารณาเห็นในชั่วขณะหนึ่งๆ
ก็ยังเรียกว่าไม่รู้จริง
เพราะความรู้นั้นมิได้ประจำจิตอยู่ตลอดเวลา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น